7 เทคนิคทำสต็อกสินค้า

7 เทคนิคทำสต็อกสินค้าที่จะช่วยคุณได้มากขึ้น ที่เรานำมาฝากนั้นจะช่วยได้มากแค่ไหน ในขณะที่คนส่วนใหญ่มักสนใจที่ยอดขาย และการลดต้นทุนการผลิต หากคุณคิดจะลดต้นทุน คุณก็ต้องมั่นใจว่าการทำแบบนั้นจะไม่กระทบกับคุณภาพสินค้าด้วย ดังนั้นแนวคิดที่ว่านี้จึงควรทำควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ ที่เริ่มได้ง่ายและเร็วที่สุดก็คือการสังเกตหาจุดบกพร่องและปรับปรุงวิธีการทำงานของคุณ เพราะเมื่อทำงานได้มีประสิทธิภาพคุณก็ทำงานได้เร็วขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลง ซึ่งก็ช่วยให้คุณสามารถประหยัดได้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายไปในตัว ในการทำสต็อกซึ่งเป็นงานที่ต้องการความละเอียดหากคุณสามารถจัดการได้เป็นอย่างดี ก็ช่วยประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนได้มากกว่าที่คุณคิด หากทำตาม 7 เทคนิคต่อไปนี้

  • จัดสต็อกเป็นหมวดหมู่
         เป็นหนึ่งในเทคนิคง่ายๆในการจัดการสต็อกของคุณ คุณสามารถจัดแบ่งสินค้าในคลังเป็นหมวดหมู่ที่แตกต่างตามประเภทข้อมูลที่อยากเก็บ เช่น สินค้าที่ขายง่ายมาไวไปไว สินค้าที่ทำกำไรได้สูง สินค้าขายดี เป็นต้น หลังจากจัดแบ่งและเก็บข้อมูลได้สักระยะแล้วคุณก็จะมีฐานข้อมูลเพียงพอที่จะเอามาวิเคราะห์เพื่อวางแผนธุรกิจต่อ
    stock management ทำสต็อก ประหยัด ลดต้นทุน
  • หมั่นอัปเดตสต็อกอยู่เสมอ มีการเช็คและนับสต็อกประจำปี
         มีการอัปเดตจำนวนสต็อกในทันทีที่มีสินค้าเข้าหรือออก เพื่อให้แน่ใจว่ามีสินค้าเพียงพอที่จะขายและป้องกันความผิดพลาดในการออเดอร์ สินค้ามาเติมสต็อก นอกจากนี้ก็ควรจัดให้มีการเช็คและนับสต็อกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับธุรกิจขนาดเล็กอาจทำปีละ 2 ครั้ง หรือ 4 ครั้ง ตามจำนวนไตรมาส การเช็คและนับสต็อกอยู่เสมอช่วยให้คุณได้อัปเดตเห็นความเคลื่อนไหวของสินค้าในสต็อกด้วยว่าสินค้าประเภทไหนขายได้ไวหรือขายได้น้อยมาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าควร restock สินค้าแต่ละเป็นเภทจำนวนเท่าไร เพื่อให้มีสินค้าพอดีกับความต้องการซื้อหรือแม้กระทั่งไม่เหลือสินค้าค้างสต็อกไว้เป็นเวลานานเกินไป
  • กำหนดสินค้าขั้นต่ำที่ควรมีในสต็อก
         เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล สถิติการขายที่ผ่านมาของคุณ รวมทั้งหาข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม เพื่อประมาณการสินค้าขั้นต่ำที่คุณควรมีสต็อกเก็บไว้ในคลังของคุณอยู่เสมอเพื่อไม่ให้มีน้อยกว่าความต้องการซื้อหรือเหลือค้างสต็อกมากจนเกินไป วิธีนี้ก็ช่วยในการวางแผน Re-order สินค้าที่มีประสิทธิภาพในครั้งต่อไปได้ stock management เทคนิคทำสต็อก ลดต้นทุน ประหยัดงบ
  • วางแผนการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ
         วางแผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับข้อมูลและสถิติการขายที่ผ่านมา เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติและประมาณการจำนวนสินค้าให้ใกล้เคียงและเพียงพอกับความต้องการในแต่ละไตรมาสให้ เช่น สินค้าที่ค้างสต็อกในรอบ 1 ปี ควรจัดให้เป็นสินค้าตกรุ่นและหาทางระบายออกเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดการคลังสินค้า
    เมื่อมีข้อปฏิบัติที่ชัดเจนเจ้าของธุรกิจก็สามารถวางแผนการขายสำหรับสินค้าได้ เช่น สินค้าที่ขายได้มากเกินที่คาดการณ์ไว้ก็ต้องเพิ่มจำนวนการ Reorderให้สอดคล้องกับความต้องการซื้อ
  • เตรียมแผนไว้รับมือปัญหา
         สิ่งที่คุณเตรียมรับนั่นคือคุณจะมีท่าทีอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา จะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ และปัญหาที่เกิดจากคลังสินค้าจะกระทบกับธุรกิจของคุณในส่วนอื่นอย่างไร ซึ่งหากคุณมีแผนตั้งรับก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ก็จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอื่นที่อาจเกิดตามมา บรรเทาความรุนแรงของปัญหาได้ โดยปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้นยกตัวอย่างเช่น
    – ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
    – พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ
    – การคำนวณสต็อกผิดพลาด
    – สินค้าบางชนิดค้างสต็อกนานเกินไป
    – ซัพพลายเออร์ไม่มีสินค้า
    – โรงงานผู้ผลิตเลิกผลิตสินค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • วางสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้การทำงานคล่องตั
         การจัดบริเวณที่ใช้ทำงานหรือแม้แต่ชั้นวางสินค้าภายในคลังช่วยให้การทำงานคล่องตัวขึ้น เพราะส่งเสริมให้แต่ขั้นตอนการทำงานลื่นไหลเป็นไปตามระบบที่วางไว้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นโอกาสในการผิดพลาดก็น้อยลง ทำได้โดยเริ่มจากการจัดโซนทำงานต่างๆ ให้เป็นสัดส่วน เอื้อต่อการลำเลียงสินค้าจากขั้นตอนหนึ่งไปสู่อีกขั้นตอน ตั้งแต่โซนที่รับสินค้าเข้าคลัง โซนเก็บสินค้า โซนแพ็คสินค้า ไปจนถึงโซนที่เตรียมการจัดส่ง รายละเอียดปลีกย่อยอย่างการเลือกใช้ชั้นวางที่ทำให้เราสังเกตและหยิบสินค้าได้ง่าย วางสินค้าขายดีไว้ใกล้มือ ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
  • จัดการระบบคลังให้ง่ายต่อการตรวจสอบดูแล
         ควรเริ่มทำตั้งแต่ต้นก่อนที่ธุรกิจเติบโตจนยากที่จะจัดการทั้งระบบใหม่ คุณต้องเข้าถึงการจัดการสินค้าได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่มีออเดอร์เข้ามาจากลูกค้าไปจนกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้า การมีระบบ Software สำหรับจัดการข้อมูลคลังสินค้าที่ช่วยให้คุณอัปเดตและเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร้านของคุณควรจะมีเทคนิคที่กล่าวมานี้แต่ละธุรกิจก็อาจนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของตัวเองในวิธีที่ต่างกัน แต่สำหรับใครที่อ่านแล้วแต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าควรจะเริ่มจากตรงไหนอย่างไรก็อย่าเพิ่งเครียดไปก่อน คุณยังมีทางเลือกอื่นอย่างการใช้บริการ Fulfillment จากบริษัทที่เชื่อถือได้ มีทีมผู้เชียวชาญที่คอยดูแลให้คำแนะนำ อย่าง Akita Warehouse คลังสินค้าที่มีระบบจัดการและจัดเก็บที่ได้มาตรฐาน มีระบบ Software ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลสินค้าในคลังของคุณได้ มีคนช่วยทำงานแพ็ค ส่ง ได้ตรงเวลาไม่ว่าจะออเดอร์เยอะแค่ไหน ที่สำคัญคุณยังไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเสียให้กับการดูแลอาคารสถานที่ อุปกรณ์ในการทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลพนักงาน เพราะเราคิดค่าใช้จ่ายตามจริง เท่านี้คุณก็ได้ใช้ค่าใช้จ่ายและเวลาได้เต็มประสิทธิภาพตามต้องการ